.
1. ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน จะมี 2 ส่วน คือ
1.1 ค่าปรับกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ กรณีไม่ได้ยื่นงบการเงิน
อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ค่าปรับ | ||
ผู้มีหน้าที่
จัดทำบัญชี |
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ
ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน |
รวม | |
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน | 1,000 | 1,000 | 2,000 |
2. บริษัทจำกัด | 1,000 | 1,000 | 2,000 |
3. นิติบุคคลต่างประเทศ | 2,000 | 2,000 | 4,000 |
4. บริษัทมหาชนจำกัด | 2,000 | 2,000 | 4,000 |
5. กิจการร่วมค้า | 2,000 | – | 2,000 |
อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ค่าปรับ | ||
ผู้มีหน้าที่
จัดทำบัญชี |
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน |
รวม | |
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน | 4,000 | 4,000 | 8,000 |
2. บริษัทจำกัด | 4,000 | 4,000 | 8,000 |
3. นิติบุคคลต่างประเทศ | 24,000 | 24,000 | 48,000 |
4. บริษัทมหาชนจำกัด | 24,000 | 24,000 | 48,000 |
5. กิจการร่วมค้า | 24,000 | – | 24,000 |
อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไปหรือไม่ยื่นงบการเงิน
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ค่าปรับ | ||
ผู้มีหน้าที่
จัดทำบัญชี |
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ
ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน |
รวม | |
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน | 6,000 | 6,000 | 12,000 |
2. บริษัทจำกัด | 6,000 | 6,000 | 12,000 |
3. นิติบุคคลต่างประเทศ | 36,000 | 36,000 | 72,000 |
4. บริษัทมหาชนจำกัด | 36,000 | 36,000 | 72,000 |
5. กิจการร่วมค้า | 36,000 | – | 36,000 |
• ค่าปรับกรณีมิได้ยื่นงบการเงิน มีอายุความ 1 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดยื่นงบการเงิน
• กรณีที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี และจะต้องนำไปยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุม
1. ถ้าประชุมทันตามกำหนดภายใน 4 เดือน แต่นำส่งงบการเงินไม่ทันภายใน 1 เดือน จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ (ตามตารางข้างต้น)
2. ถ้าประชุมเกินกำหนดเวลา ก็จะเป็นกรณี “ไม่นำงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่ลงในงบดุล” จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของบริษัท 6,000 บาท และกรรมการผู้มีอำนาจ โดยคำนวณตามจำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 6,000 บาท
3. กรณีไม่นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งหากมิได้นำส่งตามกำหนดดังกล่าวมีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท
.
1.2 ค่าปรับกับกรมสรรพากร (ภ.ง.ด.50)
– ค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนด ไม่เกิน 2,000 บาท (ปกติต้องยื่นภงด.50 ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบบัญชี)
– ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 1,000 บาท
– ยื่นแบบเกิน 7 วัน 2,000 บาท
– ค่าปรับอาญาไม่ยื่นงบการเงิน 2,000 บาท (รวมเป็น 4,000)
– เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) กรณีมีภาษีที่ต้องชำระ
– อายุความเปรียบเทียบปรับอาญา 1 ปี
Cr. ธรรมนิติ , กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
.
2.ค่าปรับกรณีไม่ได้ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 30)
1. ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30
– ยื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
– ยื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท
2. เงินเพิ่ม
– คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
– กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
เงินเพิ่ม คือ
ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนด
เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
เริ่มนับเมื่อพ้นเวลายื่นแบบฯ ถึงวันชำระ
เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษี
หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม
3. เบี้ยปรับ
3.1 กรณียื่นเพิ่มเติม คือเคยยื่นแบบเดือนนั้นแล้ว คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% – 20%
– ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%
– ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%
– ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%
– ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%
3.2 กรณีไม่ได้ยื่นแบบของเดือนนั้นมาก่อน
– ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า
– ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% x 2 เท่า
– ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% x 2 เท่า
– ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% x 2 เท่า
– กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญา
.
3.ค่าปรับกรณีไม่ได้ยื่น แบบ ภงด1 ,3, 53, 54, ภ.พ.36
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1. 3, 53,ภ.พ.36)
1.ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
* ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
* ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
.
4.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภงด.90,91)
1.ค่าปรับอาญา
*ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
*ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2.เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
.
5.ค่าปรับไม่ได้ยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)
ภ.ง.ด.51
1.ค่าปรับอาญา
ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท แต่
ยื่นแบบพ้นกำหนด 7 วันไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท
2.เงินเพิ่ม
1) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
2) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ของเงินภาษีที่ต้อง ชำระ
3) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 7 เป็นต้นไปให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ จนกว่าเงินเพิ่มจะครบ 20% ของภาษี
ใส่ความเห็น