การหัก ณ ที่จ่าย และการคำนวณภาษีกรณีจ่ายเงินให้แก่บุคคลต่างชาติ

 

หลักการเก็บภาษีจะมีสองอย่างคือ หลักแหล่งเงินได้ (ถ้าเงินได้มากิจกรรมที่ทำในประเทศ) และ หลักถิ่นที่อยู่ (เงินได้มาจากกิจกรรมที่ทำนอกประเทศ)

1.หลักแหล่งเงินได้ แบ่งออกเป็น 4 อย่างดังนี้ครับ

1.1 เงินได้จากงานที่ทำในประเทศไทย – โดยผู้มีเงินได้ปฏิบัติงานในประเทศไทย เช่น บริษัทในอเมริกา ส่ง นาย A ซึ่งเป็นพนักงาน เข้ามาปฏิบัติงานในไทย นาย A ต้องนำเงินเดือนค่าจ้างที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานในไทยมายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยหากได้รับเงินจากประเทศไทยจ่ายไปที่นาย A (อาจจะไม่เสีย ถ้าเข้าเกณฑ์เงื่อนไขยกเว้นภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อน) เช่น กรณีบริษัทไทยจ้างชาวต่างชาติคือนาย A เป็นที่ปรึกษา/นายหน้า ทำงานในไทยและรับเงินเข้าบัญชีในประเทศไทย

  1. หากนาย A อยู่ในไทยเกิน 180 วัน ให้คำนวณตามอัตราก้าวหน้า ในแบบเดียวกับการจ่ายเงินเดือนค่าจ้าง
  2. หากนาย A อยู่ในไทยไม่ถึง 180 วัน ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา15% ของเงินได้

1.2 เงินได้จากกิจการที่ทำในประเทศไทย เช่น นาย A เปิดร้าน ขายอาหารในประเทศไทย นาย A ต้องนำเงินได้ที่เกิดขึ้นมายื่นเเบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย

1.3 เงินได้จากกิจการนายจ้างในไทย  ผู้รับเงินได้อาจจะปฏิบัติงานอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ได้ เช่น บริษัท ข. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทตามกฎหมายไทย ได้ส่ง นาย ก ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ไปปฏิบัติงาน ณ สาขาของบริษัทที่ประเทศฝรั่งเศส โดยบริษัท ข. จำกัด เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้ทุกเดือน นาย ก พนักงานต้องนำเงินได้มายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย หรือ บริษัท ข. จำกัด จ้าง นาย A มาเป็นพนักงานประจำ นาย A ก็จะต้องนำเงินได้มายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยเช่นกัน  (กรณีนี้ ตัวนายA ต้องยื่นภาษีทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยถ้าอยู่ไทยน้อยกว่า 180 วัน ต้องยื่นแบบในไทย และ นำภาษีที่เสียในไทย ไปใช้ลดหย่อนที่ต่างประเทศ แต่ถ้าอยู่ไทยมากกว่า 180 ก็ให้ยื่นเสียภาษีในไทยและในต่างประเทศ และนำภาษีที่เสียในต่างประเทศ มาลดหย่อนภาษีที่ไทย) หากเข้าข้อนี้ แม้ว่าจะเป็นต่างชาติ อยู่ไทยแค่วันเดียว ก็ต้องยื่นภาษี (ไม่ต้องคำนึงถึงกรณี 180 วัน)

1.4 เงินได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย กรณีนี้เป็นเรื่องของเงินได้ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเจ้าของทรัพย์สินนั้นจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เช่น ค่าเช่าบ้าน ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล เป็นต้น

ทั้งนี้การหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องดูเรื่องของเงื่อนไข อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศด้วยอีกทีครับ

2.หลักถิ่นที่อยู่ จะเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อครบเงื่อนไข 3 ข้อ คือ

2.1 ผู้มีเงินได้มีเงินได้จากงานที่ทำในต่างประเทศหรือจากกิจการ ที่ทำในต่างประเทศ หรือจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

2.2 ได้นำเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และ

2.3 ผู้มีเงินได้นั้นอยู่อาศัยในประเทศไทยถึง 180 วัน

เช่น  กรณีจ่ายค่านายหน้าให้กับบุคคลธรรมดาที่อยู่ต่างประเทศ ในการหาลูกค้าเข้าในรับบริการในประเทศไทย (ทำงานในต่างประเทศ) ค่าตอบแทนดังกล่าว เป็นค่าตอบแทนจากหน้าที่การงานในต่างประเทศ และหากบุคคลดังกล่าวไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ในปีที่ได้รับเงินค่าตอบแทน บุคคลนั้นไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย จึงไม่ต้องทำการหัก ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงิน

หรือกรณีจ่ายเงินให้ชาวต่างชาติเป็นที่ปรึกษา/นายหน้า ทำงานในต่างประเทศ แต่รับเงินเข้าบัญชีในประเทศไทย (เคยมาเปิดบัญชีไว้ปีก่อนหน้า แต่ปีนี้ไม่ได้มาไทยเลย) กรณีนี้ พิจารณาตามหลักถิ่นที่อยู่ก็จะไม่เข้าเงื่อนไข ข้อที่ทำงานในไทยเกิน 180 วันก็จะไม่ต้องโดนหักภาษี แต่ถ้าโดนก็จะโดน ในอัตราก้าวหน้าเพราะถือเป็นเหมือนคนไทย (เว้นแต่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขของอนุสัญญาภาษีซ้อนก็จะไม่ต้องหักณที่จ่ายเช่นกันครับ )

อนุสัญญาภาษีซ้อน

อ้างอิง

https://www.rd.go.th/552.html

https://www.rd.go.th/26169.html

https://www.rd.go.th/37663.html

https://tax-ez.info/QA/View/UExr4eeC/

https://www.prosofterp.com/Article/Detail/155611

https://www.dlo.co.th/tax-articles/2922


Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *