ข้อเท็จจริง
- บริษัท ก จํากัด ประกอบกิจการผลิตชุดชั้นในชายส่งออก
- เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 บริษัทฯ ได้เปลี่ยนสภาพการจ้าง โดยได้รับความ ยินยอมจากลูกจ้างให้มีการเปลี่ยนแปลงวันทํางานจากวันจันทร์-วันเสาร์ หยุดวันอาทิตย์ ทํางานวันละ 8 ชั่วโมง มาเป็นวันจันทร์-วันศุกร์ หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ ทํางานวันละ 9 ชั่วโมง แต่ไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง และให้ลูกจ้างรายวันได้รับค่าล่วงเวลา ถ้า บริษัทฯ มีความจําเป็นจะให้ลูกจ้างรายวันมาทํางานในวันหยุด (วันเสาร์) บริษัทฯ จ่าย ค่าทํางานในวันหยุดอัตรา 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน
- บริษัทฯ กําหนดการทํางานเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสํานักงานทํางานวันจันทร์- ศุกร์ กําหนดเวลาทํางานตั้งแต่ 07.25 น.-17.55 น. กําหนดเวลาพัก 3 ช่วง คือ เวลา 12.00 น.-13.00 น. เวลา 10.00 น.-10.15 น. และเวลา 16.00 น.-16.15 น. ส่วนโรงงานทํางานจันทร์-ศุกร์ กําหนดเวลาทํางานตั้งแต่เวลา 07.30 น.-18.00 น. และ กําหนดเวลาพักเวลา 12.00 น.-13.00 น. เวลา 12.30 น.-13.00 น. เวลา 10.00 น. – 10.15 น. และเวลา 16.00 น.-16.15 น.
ประเด็นปัญหา
- กรณีบริษัทฯ ให้ลูกจ้างรายวันทํางานวันละ 9 ชั่วโมง และจ่ายค่าทํางาน ชั่วโมงที่ 9 ในอัตราค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน บริษัทฯ ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
- กรณีลูกจ้างรายวันทํางานชั่วโมงที่ 9 บริษัทฯ ไม่คิดเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลา แต่คิดเป็นการจ่ายค่าจ้าง 1 วัน เท่ากับ 9 ชั่วโมง บริษัทฯ ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่
- กรณีบริษัทฯ ให้ลูกจ้างรายวันทํางานชั่วโมงที่ 9 ถือว่าเป็นการทํางาน ล่วงเวลาสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง และบริษัทฯ ให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาอีก 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ รวมลูกจ้างทํางานล่วงเวลา 17 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เกินกําหนดมาตรฐาน แรงงานกําหนดให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาไม่เกินสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง บริษัทฯ ปฏิบัติได้ หรือไม่
แนวคําตอบ
- กรณีบริษัทฯ ลูกจ้างรายวันทํางานวันละ 9 ชั่วโมง และจ่ายค่าทํางานชั่วโมง ที่ 9 ในอัตราค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน บริษัทฯ ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่” นั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 กําหนดให้นายจ้างประกาศเวลาทํางานปกติ โดยกําหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการ ทํางานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทํางานแต่ละประเภทของงาน ตามที่กําหนดใน กฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทํางานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์ หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง สําหรับงานที่ไม่ใช่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบ กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ข้อ 2 วรรคหนึ่ง งานที่เกี่ยวกับการผลิต นายจ้าง และลูกจ้างอาจตกลงกันกําหนดเวลาทํางานปกติในวันหนึ่งๆ เป็นจํานวนกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่ เมื่อรวมเวลาทํางานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง และกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2541) ข้อ 2 กําหนดให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกําหนดเวลาทํางาน ปกติเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมง และสําหรับลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ให้ นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันทํางานสําหรับการทํางาน 8 ชั่วโมง แต่การทํางานเกิน 8 ชั่วโมง ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวัน ทํางาน ตามจํานวนชั่วโมงที่ทําเกิน พิจารณาแล้ว กิจการของบริษัทฯ ประกอบการ ผลิตชุดชั้นในชายส่งออก ซึ่งเป็นลักษณะงานการผลิต และบริษัทฯ ได้ตกลงกับลูกจ้าง กําหนดวันทํางานสัปดาห์ละ 5 วัน คือ วันจันทร์-ศุกร์ กําหนดชั่วโมงทํางานวันละ 9. ชั่วโมง รวมชั่วโมงทํางานต่อสัปดาห์ทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง เป็นการปฏิบัติที่สอดคล้องตาม มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 : ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ข้อ 2 วรรคหนึ่ง และกฎกระทรวง ฉบับที่ 13. (พ.ศ. 2541) ข้อ 2 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- กรณีลูกจ้างรายวันทํางานชั่วโมงที่ 9 บริษัทฯ ไม่คิดเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลา
แต่คิดเป็นการจ่ายค่าจ้าง 1 วัน เท่ากับ 9 ชั่วโมง บริษัทฯ ปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ นั้น พิจารณาจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2541) ข้อ 2 วรรคสอง ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ข้อ 2 วรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกําหนดเวลา ทํางานปกติเกินกว่า 8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการทํางานที่เกี่ยวกับการผลิต ลูกจ้างและนายจ้าง ตกลงกันกําหนดเวลาทํางานปกติในวันหนึ่ง ๆ เป็นกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาทั้งสิ้น สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง สําหรับลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน ให้ นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันทํางานสําหรับการทํางาน 8 ชั่วโมง และจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อย เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับการผลิต นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันทํางานวันละ 9 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5 วัน รวมชั่วโมงทํางานต่อสัปดาห์ทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง จึงไม่เกิน สัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ดังนั้น การทํางานชั่วโมงที่ 9 ของลูกจ้างตามที่ได้ทําความตกลง กับนายจ้าง จึงมิใช่การทํางานล่วงเวลา แม้บริษัทฯ จะได้จ่ายค่าตอบแทนในวันทํางานชั่วโมง ที่ 9 ในอัตรา 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน ก็มิใช่การจ่ายค่าล่วงเวลา แต่เป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ข้อ 2 วรรคสอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติ ที่สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
3.มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทํางาน ล่วงเวลาในวันทํางาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป และ นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาได้เท่าที่จําเป็น . กรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงาน ต้องทําติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กําหนดชั่วโมงทํางานล่วงเวลาตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง และชั่วโมงทํางานในวันหยุดตาม มาตรา 25 วรรคสองและวรรคสาม รวมแล้วสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 36 ชั่วโมง พิจารณา แล้วเห็นว่า ถ้าบริษัทฯ กําหนดให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาอีกสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง ซึ่งไม่ เกินกว่า 36 ชั่วโมงตามที่กฎหมายกําหนด บริษัทฯ สามารถให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาได้แต่นายจ้างต้องปฏิบัติตามมาตรา 24 มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
สรุปคือ : จากประเด็นข้อหารือข้างต้นที่ได้พิจารณาแล้วว่า การทํางานชั่วโมงที่ 9 ลูกจ้างรายวัน มิใช่การทํางานล่วงเวลา จึงไม่ต้องนําชั่วโมงทํางานที่ 9 รวมทั้งสัปดาห์ 5 ชั่วโมง มานับรวมกับชั่วโมงทํางานล่วงเวลาแต่อย่างใด สําหรับการทํางานล่วงเวลานั้น
.
ที่มา :
https://legal.labour.go.th/attachments/article/165/47221_47.pdf
ใส่ความเห็น