จดทะเบียนบริษัท กรณีมีต่างชาติถือหุ้น

จดทะเบียนบริษัทกรณีมีชาวต่างชาติถือหุ้น ต้องทำอย่างไรบ้าง

กรณีบริษัทมีชาวต่างชาตืถือหุ้นจะแบ่งได้เป็นสองแบบครับคือ แบบมีชาวต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ50 และแบบที่ชาวต่างชาติถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ50ครับ

  1. หากมีชาวต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ50 บริษัทจะเป็นบริษัทต่างด้าวจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ต่างด้าว หากต้องการจะประกอบธุรกิจจะต้องดูว่าเข้ารูปแบบธุรกิจชนิดไหน ซึ่งแบ่งเป็นสามบัญชีดังนี้ (จะเป็นเนื้อหาจาก พ.ร.บ.นะครับ)บัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ  (ต่างด้าวไม่สามารถทำได้เลย)
    (1) การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
    (2) การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน
    (3) การเลี้ยงสัตว์
    (4) การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
    (5) การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำ ในน่านน้ำ ไทยและในเขตเศรษฐกิจ จำเพาะของประเทศไทย
    (6) การสกัดสมุนไพรไทย
    (7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ของประเทศ
    (8) การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร
    (9) การค้าที่ดิน

          บัญชีสอง ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบ ต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้น บ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ทำได้โดยต้องขออนุญาต)

          บัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับ คนต่างด้าวคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ทำได้ถ้าขออนุญาตผ่าน) ได้แก่

(1) การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
(2) การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้
(3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก
(4) การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด
(5) การผลิตปูนขาว
(6) การทำกิจการบริการทางบัญชี
(7) การทำกิจการบริการทางกฎหมาย
(8) การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
(9) การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม
(10) การก่อสร้าง ยกเว้น
(ก) การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพืน้ ฐานแก่ประชาชนด้านการ สาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี หรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษโดยมีทุนขัน้ ต่ำของคนต่างด้าวตัง้ แต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้น ไป
(ข) การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(11) การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
(ก) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อ ขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขาย ล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือ หลักทรัพย์
(ข) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
(ค) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซือ้ ขาย จัดซื้อ หรือจัดจำหน่ายหรือจัดหา ตลาดทั้ง ในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิต ในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ
อันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้น ต่ำของคนต่างด้าวตั้ง แต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้น ไป
(ง) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(12) การขายทอดตลาด ยกเว้น
(ก) การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อ ขายระหว่างประเทศ ที่มิใช่การประมูลซื้อ ขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงาน ศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ของประเทศ
(ข) การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้น เมืองที่ยังไม่มี กฎหมายห้ามไว้ยกเว้นการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย โดยไม่มีการส่งมอบหรือรับมอบสินค้าเกษตรภายในประเทศ
(14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้น ต่ำรวมทั้ง สิ้น น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้า น้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
(15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้น ต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
(16) การทำกิจการโฆษณา
(17) การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรมแรม
(18) การนำเที่ยว
(19) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
(20) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธ์ุพืช
(21) การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง

ยกตัวอย่างเพิ่มเติมครับเช่น หากบริษัทต่างด้าว ต้องการนำเข้าสินค้ามาขายส่ง ต้องมีทุนตาม บัญชีสามข้อ (15) ที่บอกว่า “การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้น ต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท” แปลว่าหากทุนต่ำกว่า หนึ่งร้อยล้านต้องขออนุญาตครับเรียกว่า Foreign business license หรือ FBL แต่ถ้ามีทุนหนึ่งร้อยล้านแล้ว ก็สามารถทำได้เลยครับ


2.หากต่างชาติถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50
แบบนี้จะถือว่าเป็นบริษัทไทยอยู่ครับ สามารถประกอบการได้เลย ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือจากเอกสารการจดทะเบียนทั่วๆไปดังนี้ครับ
(1) ถ้าหากชาวต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ 40 ให้คนไทยทุกคนที่เป็นหุ้นส่วนดำเนินการขอ หนังสือรับรองฐานะการเงิน ซึ่งขอได้จากธนาคารที่แต่ลคนมีบัญชีอยู่ครับ โดยเงินในบัญชีนั้นๆ ต้องมีมากกว่าจำนวนหุ้นที่ตัวเองจะเข้าถือตอนจดทะเบียน
กรณีชาวต่างชาติถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 40 แต่เป็นกรรมการ มีอำนาจในการลงนามผูกพันกิจการกรณีนี้คนไทยทุกคนที่เข้าถือหุ้นก็ต้องดำเนินการขอหนังสือรับรองฐานะการเงินเช่นกัน
(2) เอกสารส่วนตัวของชาวต่างชาติได้แค่สำเนา passport แต่ต้องมีลายเซ็นสดนะครับ
(3) เอกสารประกอบกอบการจดทะเบียนอื่นๆ แบบเดียวกับที่จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนทั่วไป

เพียงเท่านี้ก็จะสามารถจดทะเบียนบริษัท/ ห้างหุ้นส่วนแบบมีชาวต่างชาติเข้าเป็นหุ้นส่วนได้แล้วครับ หากมีคำถามเพิ่มเติมหรืออยากสอบถามเรื่องบัญชี ภาษี สามารถแอดไลน์ 063-924-7462 ได้เลยครับผม


Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *